ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ปัญหาเรื่องภัยทุจริตทางการเงินเกิดขึ้นเยอะขึ้นมากในโลกดิจิทัล ประชาชนตกเป็นเหยื่อจำนวนมากด้วยวิธีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น SMS หลอกลวง, แก๊งคอลเซ็นเตอร์, แอปพลิเคชันให้สินเชื่อปลอม และแอปพลิเคชันดูดเงิน
เพราะจากข้อมูลพบว่ามิจฉาชีพส่วนใหญ่มักโอนวงเงินเกินกว่า 50,000 บาทต่อครั้ง ซึ่งผลกระทบตัวลูกค้าจากครั้งนี้มีเพียง 1% เท่านั้นที่โอนเงินครั้งละมากๆ
ปัญหานี้ทำให้ ธปท. ตระหนักถึงความเดือดร้อนของประชาชนจึงได้ออกนโยบายชุดมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงินเพื่อหวังสกัดภัยทางการเงิน ซึ่งแบ่งเป็น 3 มาตรการ ดังนี้
1. มาตรการป้องกันระบบไบโอแมทตริก
- ห้ามแนบ link ผ่าน SMS และ E-Mail ห้ามส่ง Link ขอข้อมูลส่วนบุคคล หรือ OTP ผ่าน Social Media เริ่ม ก.พ. 66 เสร็จสิ้น มิ.ย.66
- ปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยบน Mobile Banking ให้ Update ล่าสุด เริ่ม ก.พ. 66
- ให้ลูกค้ายืนยันตัวตนด้วยระบบ Biometrics เมื่อเปิดบัญชีแบบ non-face-to-face (เสร็จแล้ว)
2. มาตรการตรวจจับและติดตามบัญชี
เพื่อให้ สง. ช่วยจำกัดความเสียหายได้เร็วขึ้น และลดการใช้บัญชีม้า ธปท. จะกำหนดเงื่อนไขการตรวจจับและติดตามธุรกรรมเข้าข่ายผิดปกติ หรือกระทำความผิด เพื่อให้ สง. รายงานไปสำนักงาน ปปง. รวมทั้งให้ สง. ต้องมีระบบตรวจจับและติดตามบัญชี หรือธุรกรรมต้องสงสัยแบบ near real-time เพื่อให้สามารถระงับธุรกรรมได้ทันทีเป็นการชั่วคราวเมื่อตรวจพบ
3. มาตรการตอบสนองและรับมือ
เพื่อจัดการปัญหาให้ผู้เสียหายได้เร็วขึ้น ให้ สง. ทุกแห่งต้องมีช่องทางติดต่อเร่งด่วน ตลอด 24 ชั่วโมง ใช้สำหรับแยกจากช่องทางให้บริการปกติ เพื่อให้ผู้ใช้บริการแจ้งเหตุได้โดยเร็ว รวมทั้งให้ดูแลรับผิดชอบผู้ใช้บริการ หากพบว่าความเสียหายเกิดจากข้อบกพร่องของ สง.
โดยทาง ธปท. กำหนด 3 ธุรกรรม ที่จะต้องมีการยืนยันตัวตนคือ
- ธุรกรรมที่โอนวงเงินเกิน 50,000 บาท/รายการ
- ธุรกรรมโอนวงเงินเกิน 200,000 บาท/วัน
- การปรับเพิ่มวงเงินเกิน 50,000 บาทต่อวัน โดยลูกค้าจะต้องมีการยืนยันตัวตนลูกค้า
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย